สุขภาพ ความรู้รอบตัว

รู้ทัน และเข้าใจเกี่ยวกับโรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เพื่อหาวิธีรักษาและป้องกันได้ตรงจุด

โรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และกลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกัน ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย ทั้งกลางวัน กลางคืน ปวดกลั้นมากขณะที่จะไปห้องน้ำจนบ่อยครั้ง หรือบางครั้งกลั้นไม่อยู่ราดออกไปก่อน สตรีหลังคลอดบุตรตามธรรมชาติผ่านช่องคลอด 2 – 3 คนแล้ว อาจจะพบว่ามีอาการปัสสาวะเล็ดออกมาบ้างทั้งน้อยหรือมากเมื่อเวลาเป็นหวัด มีไอและจาม พบว่าปัสสาวะเล็ด เรียกว่า ปัสสาวะเล็ดเมื่อมีการออกแรงเบ่งช่องท้อง รวมทั้งอาจเกิดขึ้นได้เมื่อก้มลงยกของหนักจากพื้นหรือกระโดดออกกำลังกาย หรือแม้แต่ก้าวขึ้นบันไดหลาย ๆ ขั้นก็ตาม สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค หรือภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หูรูดเสื่อม หรือไม่แข็งแรง การอักเสบติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะหรือทางเดินปัสสาวะ กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อน การใช้ยาบางชนิด เยื่อบุรอบท่อปัสสาวะบางฝ่อ ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน การบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะไวกว่าปกติ ท้องผูกเรื้อรัง มีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัว ภาวะการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ที่พบหลักๆ จะมีอยู่ด้วยกัน 3  ชนิดได้แก่ 1.กลั้นปัสสาวะไม่ได้หลังมีการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง (Stress Urinary Incontinence) ในภาวะปกติสตรีจะมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ทำหน้าที่พยุงท่อปัสสาวะให้อยู่นิ่งและช่วยทำหน้าที่อุดกั้นท่อปัสสาวะเมื่อเกิดการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง เช่น การไอหรือจาม การหัวเราะ การออกกำลังกาย แต่หากเกิดการบาดเจ็บหรือมีความเสื่อมของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันดังกล่าวย่อมทำให้เกิดภาวะปัสสาวะเล็ดตามหลังการเพิ่มแรงดันในท้องได้ 2.ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้หลังมีอาการปวดปัสสาวะฉับพลัน (Urgency Incontinence) ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้หลังมีอาการปวดปัสสาวะฉับพลัน หรือภาวะปัสสาวะราด สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน โดยมักมีอาการตามหลังอาการปวดปัสสาวะฉับพลันซึ่งอาจมีอาการเกิดขึ้นเองหรือมีปัจจัยบางอย่างกระตุ้น […]