สุขภาพ ความรู้รอบตัว

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่จะช่วยให้คุณเตรียมพร้อมและป้องกันได้ดีที่สุด

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นโรคที่ทำให้มีคนเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ ในไทย ยิ่งในปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีมากมายที่เข้ามาอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันก็ยิ่งทำให้สไตล์การใช้ชีวิตของผู้คนก็เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ เราเริ่มทำงานประจำอยู่กับที่มากขึ้น ไม่ค่อยลุกไปไหน เคลื่อนไหวหรือออกแรงกันน้อยลง นำมาซึ่งความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ อีกมากมายที่ทำให้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบดังนี้

สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

กรรมพันธุ์ : หากคนในครอบครัวสายตรง เช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือด เราเองก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเช่นกัน

อายุ : ความเสี่ยงเรื่องสุขภาพมักมากตามอายุ เพราะร่างกายของเราเสื่อมสภาพตามอายุที่เพิ่มขึ้น

เพศ : เพศชาย เป็นเพศที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดมากกว่าเพศหญิง เนื่องด้วยปัจจัยเสี่ยงที่มากับการใช้ชีวิตประจำวัน

การสูบบุหรี่ : สารในบุหรี่นั้นเป็นตัวเร่งให้เซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือดเสื่อมเร็วขึ้น

บริโภคอาหารที่มีไขมัน : อาหารที่มีไขมันสูงนั้นจะมี LDL สูงซึ่งเป็นตัวชี้วัดปริมาณไขมันในหลอดเลือดว่าสูงมากแค่ไหน

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบสามารถจำแนกตามประเภทของการตีบและสาเหตุได้ดังนี้

  1. หลอดเลือดหัวใจตีบจากโรคหลอดเลือดแดงเสื่อม (Atherosclerosis)

การตีบที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งเกิดจากการสะสมของไขมัน คอเลสเตอรอล แคลเซียม และสารอื่นๆ ในผนังหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดแข็งและแคบลง ซึ่งอาจนำไปสู่การอุดตันหลอดเลือดหรือการแตกของแผ่นไขมันที่ทำให้เกิดลิ่มเลือด

  1. หลอดเลือดหัวใจตีบจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดเลือด (Vasospasm)

หลอดเลือดหัวใจตีบจากการหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆ หลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแคบลงชั่วคราว และส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก

  1. การตีบเนื่องจากความผิดปกติของเอ็นโดทีเลียม (Endothelial Dysfunction)

เอ็นโดทีเลียมคือชั้นผนังเซลล์ภายในหลอดเลือดที่ช่วยในการควบคุมการหดตัว และการขยายตัวของหลอดเลือด ความผิดปกติของเอ็นโดทีเลียมสามารถทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและลดการไหลเวียนของเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ

  1. หลอดเลือดหัวใจตีบจากสาเหตุอื่นๆ

เช่น การอักเสบของหลอดเลือด (vasculitis) หรือโรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัวผิดปกติ (congenital coronary artery anomalies) ซึ่งอาจส่งผลให้หลอดเลือดตีบและแข็ง

ซึ่งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแต่ละประเภทมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป เช่น การใช้ยาบางชนิดเหมาะสำหรับการควบคุมคอเลสเตอรอลและป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ในขณะที่บางกรณีอาจต้องใช้การรักษาด้วยการผ่าตัดหรือการขยายหลอดเลือด

แนวทางในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

1.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต

  • เลิกสูบบุหรี่
  • ควบคุมอาหาร รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ, หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอล, เพิ่มผักและผลไม้
  • การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • จัดการกับความเครียด ปฏิบัติการคลายความเครียดเช่น โยคะ, การทำสมาธิ และเทคนิคการหายใจ

2.การรักษาด้วยยา

  • ยาต้านเกล็ดเลือด
  • ยาต้านการแข็งตัวของลิ่มเลือด
  • ยาขยายหลอดเลือด
  • ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ
  • ยาลดไขมัน
  • ยาควบคุมความดันโลหิต

3.การรักษาด้วยหัตถการหลอดเลือดหรือการผ่าตัด

  • การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด
  • การขยายหลอดเลือดหัวใจที่ตีบด้วยบอลลูน
  • การผ่าตัดบายพาสเส้นเลือดหัวใจ

ทั้งนี้เราสามารถป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ด้วยการ ดูแลสุขภาพให้ดี เช่น การรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม, การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์, การออกกำลังกายสม่ำเสมอ, การเลิกสูบบุหรี่ การควบคุมคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี และควรที่จะต้องศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบให้มากขึ้นทั้งปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรค วิธีป้องกัน วิธีในการรักษาเพื่อให้คุณสามารถเตรียมพร้อมรับมือกับโรคนี้ได้หากเข้าข่ายว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ค่ะ

Karintip

Karintip

About Author

You may also like

สุขภาพ

5 โรคที่พบได้บ่อยในคนไทย คุณกำลังทำพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้อยู่หรือไม่?

สภาพแวดล้อม และรูปแบบการดำเนินชีวิตล้วนส่งผลต่อสุขภาพทั้งสิ้น มีหลายโรคร้ายที่พบบ่อยในคนไทย การทราบถึงสาเหตุของโรคสามารถนำมาปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพที่ดีได้
ผู้หญิง สุขภาพ

สาว ๆ ต้องอ่าน! สาเหตุ “โรคมะเร็งปากมดลูก” รู้ก่อนป้องกันได้!

โรคมะเร็งปากมดลูก มีสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อ HPV (Human Papillomavirus) การดูแลตัวเองและตรวจเช็คสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ สามารถช่วยป้องกันโรคนี้ในระยะแรกเริ่มได้