วัยทอง หรือที่รู้จักในศัพท์แพทย์ว่า “เมโนพอส” (Menopause) คือช่วงเวลาที่ผู้หญิงหมดภาวะเจริญพันธุ์ซึ่งปกติเกิดขึ้นเมื่อผู้หญิงอายุระหว่าง 45 ถึง 55 ปี วัยทองเกิดจากการที่รังไข่หยุดการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการมีประจำเดือนและการตั้งครรภ์
ช่วงวัยทองแบ่งได้เป็น 3 ช่วง ได้แก่
-
วัยก่อนหมดประจำเดือน (Perimenopause)
ช่วงเวลานี้เริ่มก่อนหมดประจำเดือน และอาจมีระยะเวลาหลายปี ระดับฮอร์โมนจะเริ่มผันผวน ทำให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ และอาจประสบกับอากา รเช่น ร้อนวูบวาบ, เหนื่อยง่าย และอารมณ์แปรปรวน
-
วัยหมดประจำเดือน (Menopause)
ระบุได้เมื่อผู้หญิงไม่มีประจำเดือนติดต่อกันมาแล้ว 12 เดือน ที่ช่วงนี้รังไข่หยุดการผลิตฮอร์โมนเพศหญิงแล้ว
-
หลังวัยหมดประจำเดือน (Postmenopause)
ช่วงนี้เริ่มหลังจากผ่านวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว ซึ่งผู้หญิงอาจมีความเสี่ยงสูงต่อโรคเกี่ยวกับกระดูก หัวใจ และปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการขาดฮอร์โมนเพศหญิง
อาการของวัยทองสามารถจัดการได้ผ่านการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต การใช้ยาบำรุง หรือการใช้การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนตามคำแนะนำของแพทย์
อาหารเสริมที่วัยทองควรทาน
อาหารเสริมสำหรับผู้ที่อยู่ในวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนมักมุ่งเน้นไปที่การดูแลสุขภาพในหลายๆ ด้าน เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถปรับตัวและรักษาสมดุลในช่วงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญนี้ได้ดีขึ้น อาหารเสริมวัยทองที่ได้รับความนิยมประกอบไปด้วย
- แคลเซียมและวิตามิน D ช่วยเสริมสร้างกระดูกและป้องกันโรคกระดูกพรุน ซึ่งผู้หญิงในวัยทองมีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคนี้เนื่องจากการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน
- วิตามิน B6 และ B12 มีบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพของระบบประสาทและช่วยลดอาการเหนื่อยง่ายและซึมเศร้า
- โอเมก้า 3 มีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ,สุขภาพกระดูก,รักษาสมดุลของฮอร์โมน
- ไอโซฟลาโวนส์ สารสกัดจากถั่วเหลืองที่ช่วยลดอาการวัยทอง เช่น อาการร้อนวูบวาบในวัยหมดประจำเดือน
- วิตามินอี ช่วยบรรเทาอาการวัยทองและปรับปรุงสภาพผิวให้ดีขึ้นได้
การเลือกอาหารเสริมวัยทองควรพิจารณาจากสภาพสุขภาพและความต้องการของแต่ละบุคคล และควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้อาหารเสริมใดๆ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดและหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การป้องกันอาการวัยทอง
- การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง, ลดความเครียด, อารมณ์ดี และช่วยให้นอนหลับได้สนิท
- การรับประทานอาหารที่สมดุล อย่าง ผัก, ผลไม้, ธัญพืชที่ยังไม่ผ่านการแปรรูป, โปรตีนที่มีประโยชน์ และไขมันดี จากปลาและถั่ว
- การควบคุมน้ำหนัก รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเพื่อลดความเสี่ยงของอาการร้อนวูบวาบและปัญหาสุขภาพอื่นๆ
- การงดหรือลดการการดื่มแอลกอฮอล์, คาเฟอีน และอาหารรสจัด ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ
- การบำบัดฮอร์โมน สำหรับบางคนที่มีอาการรุนแรง การบำบัดฮอร์โมนอาจช่วยบรรเทาอาการได้ แต่ควรมีการปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาถึงประโยชน์และความเสี่ยงก่อนทำการบำบัด
- การฝึกจิตใจและการผ่อนคลาย อย่างเช่น การเล่นโยคะ, การทำสมาธิ หรือการนวด จะช่วยให้รู้สึกสงบและลดระดับความเครียด
ทั้งนี้ในการรับมือกับวัยทองจำเป็นต้องดูแลอย่างรอบด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ อย่างด้านร่างกาย เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ , ทานอาหารที่มีประโยชน์ หรืออาหารเสริมวัยทอง, ตรวจสุขภาพเป็นประจำ เป็นต้น ส่วนการดูแลทางด้านจิตใจ เช่น การพูดคุย, การนั่งสมาธิ และงานอดิเรกหรือทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนช่วยให้บรรเทาอาการวัยทองได้ค่ะ